วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2556

กิจกรรมที่ 2
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช  2550


1.ประเด็นที่อ่านแล้วมีอะไรที่น่าสนใจ


ตอบ  การร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่จัดทำใหม่นี้มีสาระสำคัญเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกันของประชาชนชาวไทย ในการธำรงรักษาไว้ซึ่งเอกราชและความมั่นคงของชาติ การทำนุบำรุงรักษาศาสนาทุกศาสนาให้สถิตสถาพร การเทิดทูนพระมหากษัตริย์เป็นประมุขและเป็นมิ่งขวัญของชาติ การยึดถือระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเป็นวิถีทางในการปกครองประเทศ การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ให้ประชาชนมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการปกครองและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐอย่างเป็นรูปธรรม การกำหนดกลไกสถาบันทางการเมืองทั้งฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ให้มีดุลยภาพและประสิทธิภาพตามวิถีการปกครองแบบรัฐสภา รวมทั้งให้สถาบันศาลและองค์กรอิสระอื่นสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยสุจริตเที่ยงธรรม
         และเมื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว สภาร่างรัฐธรรมนูญได้เผยแพร่ให้ประชาชนทราบและจัดให้มีการออกเสียงประชามติเพื่อให้ความเห็นชอบแก่ร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ การออกเสียงลงประชามติปรากฏผลว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยเสียงข้างมากของผู้มาออกเสียงประชามติเห็นชอบให้นำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มาใช้บังคับ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติจึงนำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ให้ประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยสืบไป ทรงพระราชดำริว่าสมควรพระราชทานพระบรมราชานุมัติตามมติของมหาชน

2.สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิชานี้ตรงกับรัฐธรรมนูญในประเด็นใดบ้าง
ตอบ   ประเด็นหมวดที่  3  สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย ส่วนที่ 8 สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา
              มาตราที่ 49 ในประเด็นที่ว่า
            “ บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
            “ ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพหรือผู้อยู่ในภาวะยากลำบากต้องได้รับสิทธิจากวรรคหนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐ เพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น ”
            “ การจัดการศึกษาหรืออบรมขององค์กรวิชาชีพหรืเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชน หรือการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ ”
             มาตราที่ 50 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ ในประเด็นที่ว่า “ การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัยและการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ ย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่พลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ”

3.ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความรู้และความจำที่น่าจะนำไปตอบข้อสอบได้มีอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง
ตอบ                                                                                         
สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา

มาตรา ๔๙  บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ต้องได้รับสิทธิตามวรรคหนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น
การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับความคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ
                         สภาผู้แทนราษฎร
                                                
มาตรา ๙๓  สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวนสี่ร้อยแปดสิบคน โดยเป็นสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวนสี่ร้อยคน และสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วนจำนวนแปดสิบคน
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้ใช้วิธีออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ โดยให้ใช้บัตรเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบละหนึ่งใบ
หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา



4.ทำไมเราต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ให้นักศึกษาบอกเหตุผลประกอบการอภิปราย
ตอบ   เราต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาราจักรไทย เพราะรัฐธรรมนูญเป็นสิ่งที่จะทำให้ประชาชนชาวไทยบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกันในการที่จะพัฒนาประเทศ รักษาไว้ซึ่งความเป็นเอกราชและความมั่นคงของชาติ รวมถึงการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา  และรัฐธรรมนูญมุ่งให้ประชาชนเคารพสิทธิของกันและกัน การใช้สิทธิของตนตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดจะต้องไม่กระทบสิทธิเสรีภาพของผู้ อื่น เช่น รัฐธรรมนูญให้สิทธิประชาชนที่จะชุมนุมเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมหรือเจรจา ต่อรองใด ๆได้โดยสงบ และปราศจากอาวุธแต่ต้องไม่ก่อความเดือดร้อนต่อบุคคลอื่น เช่น กีดขวางการจราจร ปิดการจราจร หรือทำลายสิ่งของบุคคลอื่นหรือทรัพย์สินของทางราชการ เป็นต้น



5.นักศึกษามีความคิดเห็นอย่างไรในการที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพราะเหตุใดที่จะต้องแก้ไขและทำไมมีประชาชนบางกลุ่มจึงคัดค้าน ขอให้นักศึกษาบอกถึงเหตุผลที่จะต้องแก้ไข
ตอบ  การที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญอาจเป็นเพราะต้องการปรับปรุงกฎหมายในแต่ละมาตราให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิตในโลกปัจจุบัน ในการธำรงรักษาไว้ซึ่งเอกราชและความมั่นคงของชาติ การเทิดทูนพระมหากษัตริย์เป็นประมุขและเป็นมิ่งขวัญของชาติ การยึดถือระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเป็นวิถีทางในการปกครองประเทศและเพื่อการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน แต่ต้องดูความเหมาะสมในสิ่งที่รัฐบาลดำเนินการแก้ไข ว่ามีประโยชน์แก่ทุกฝ่ายหรือไม่ เหมาะสมมากน้อยเพียงใด เพราะถ้าไม่สามารถมีประโยชน์แล้วก็อาจจะทำให้บางกลุ่มคัดค้านในการปรับปรุงรัฐธรรมนูญได้
จากการที่รัฐบาลแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้ว มีประชาชนบางกลุ่มออกมาคัดค้านนั้นเป็นเพราะว่า ประชาชนเหล่านี้มองเห็นถึงวัตถุประสงค์ที่แท้จริง หรือแอบแฝงจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าว หรือกล่าวอีกในหนึ่งก็คือ ประชาชนที่ออกมาคัดค้านรัฐธรรมนูญนั้นอาจจะเป็นกลุ่มของประชาชนที่เสียผลประโยชน์จากการแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาลดังกล่าว


6.ปัจจุบันการปกครองประเทศมีอำนาจทั้ง 3 อำนาจที่จะต้องมีความสมดุลซึ่งกันและกัน และนักศึกษามองถึงปัญหารัฐสภา  สภาผู้แทนราษฎร์  สภานิติบัญญัติ มีภาวะที่ดำรงอยู่อย่างไร มีความมั่งคงที่จะรักษาความเสถียรต่อการบริหารบ้านเมืองหรือไม่ขอให้นักศึกษาอภิปรายและแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่า 
ตอบ  การปกครองประเทศ อำนาจทั้ง3อำนาจจะต้องมีความสมดุลกันซึ่งกันและกัน  แต่ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่ารัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร์ สภานิติบัญญัติ  ก็เกิดปัญหามากมายที่ส่งผลกระทบในการปกครองประเทศจนทำให้ในบางครั้งก็เกิดปัญหาเกี่ยวกับการเมืองและการปกครอง ส่งผลไปสู่ภาวะทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ในปัจจุบัน แต่สามารถสร้างความมั่งคงที่จะรักษาความเสถียรต่อการบริหารบ้านเมือง ให้มีความก้าวหน้าในด้านต่างๆได้ และเพราะปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองยังคงต้องอาศัยอำนาจเหล่านี้เพื่อเป็นหลักสำคัญในดำรงอยู่ของความมั่นคงของประเทศ ทั้งเศรษฐกิจ ความเป็นอยู่ที่สงบสุขของประชาชน อยากให้ทั้ง 3 สภาตั้งอยู่บนกฎเกณฑ์ที่ถูกต้องไม่เอนเอียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพื่อผลประโยชน์ส่วนตน ต่างฝ่ายต่างทำหน้าที่ให้ดีที่สุด เพื่อนึกถึงประโยชน์และความสุขส่วนรวมให้มากที่สุด  และต้องร่วมมือกันในการที่จะวางแผนพัฒนาประเทศและนำพาประเทศให้ดำเนินไปได้อย่างมีเสถียรภาพ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น